เทพีแห่งดวงจันทร์ “อาร์เทมิส”

อาร์เทมิส คือเทพเจ้าแห่งการล่าสัตว์ เทพีแห่งดวงจันทร์ และเป็นเทพีแห่งความรักทางใจ ตำนานการกำเนิดกล่าวว่าเป็นธิดาฝาแฝดของเทพซุสกับนางอัปสร ลีโต หรือ แลโตนา มีพี่ชายร่วมอุทรคือ เทพอพอลโลซึ่งเป็นเทพแห่งพระอาทิตย์ และการดนตรี

เทพีอาร์เทมีสถูกสถาปนาเป็นจันทราเทวี คุมรถม้าเงินพระจันทร์ ให้แสงสว่างนำทางมวลมนุษย์ในยามกลางคืน เทพีอาร์ทมีสปลิดชีพผู้ต้องศรอย่างนุ่มนวลราวแสงจันทร์ จนดูคล้ายกับคนที่นอนหลับไปเท่านั้น
     เทพีอาร์เทมีสมีชีวิตโลดโผนกว่าเทพีองค์อื่น เพราะทรงโปรดการล่าสัตว์และชอบชีวิตโสด จนเทพซุสประทานนางอัปสรผู้ไม่ต้องการแต่งงานจำนวน 50 ให้เป็นบริวาร สาเหตุที่พระนางไม่ต้องการมีความรัก ก็เพราะมีความหลังฝังใจจากที่นางลีโตต้องทรมานกับการคลอดบุตร และในเวลาที่ประสูติเทพีอาร์เทมิสก็ซึมซับความรู้สึกนั้นได้ พระนางจึงไม่เชื่อในความรักและไม่ต้องการคู่ครอง เทพีอาร์เทมีสวิงวอนให้เทพซุสสาบานว่าจะไม่จับคู่สมรสให้พระนางหรือให้พระ นางสมรสไม่ว่ากรณีใด และให้พระนางเป็นเทพีผู้ครองพรหมจรรย์ ซึ่งเทพซุสก็สาบานโดยให้แม่น้ำสติกซ์ซึ่งไหลรอบนรกเป็นพยาน (การสาบานต่อแม่น้ำสติกซ์มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ผู้ใดผิดคำสาบานไม่ว่ามนุษย์หรือเทพเจ้าจะประสบเคราะห์กรรมอย่างร้ายแรง)

                ตำนาน ความรักของเทพีอาร์เทมิสนั้นมีอยู่สองตำนาน ตำนานแรกคือตำนานของกรีกซึ่งเกี่ยวกับกลุ่มดาวนายพรานซึ่งสุกสว่างอยู่บน ท้องฟ้าในยามกลางคืน ส่วนอีกตำนานหนึ่งคือตำนานของโรมันซึ่งกล่าวถึงเอนดิเมียน ชายหนุ่มเลี้ยงแกะรูปงาม

                 ในตำนานของกรีกนั้นกล่าวว่าเทพีอาร์เทมิสทรงสาบานตนเป็นเทพีพรหมจารีย์ร่วมกับ อะธีน่าและเฮสเทียต่อหน้าแม่น้ำสติกซ์ นางชิงชังชีวิตสมรส ความรัก และการยุ่งเกี่ยวกับผู้ชาย แต่สิ่งหนึ่งที่เทพีอาร์เทอมิสไม่ปฏิเสธคือการมีสหายเป็นชายที่รักการล่า สัตว์เช่นเดียวกับพระนาง

                 สหายสนิทของเทพีอาร์เทอมิสมีนามว่าโอไรออน เขาเป็นนายพรานผู้ฉมังในการล่าสัตว์ มีสุนัขคู่ใจชื่อว่าซิริอุส ทุกๆ วันเทพีอาร์เทมิสและสหายจะร่วมกันล่าสัตว์และพูดคุยกันอย่างสนุกสนานหลังจาก ล่าสัตว์เสร็จ

                   เทพีอาร์เทมิสหลงรักนายพรานหนุ่มและคิดที่จะสละความเป็นเทพีพรหมจารีย์เพื่อ แต่งงานกับอไรเอิน อพอลโล่รู้ถึงความคิดนี้เข้าและกลัวว่าอาร์เทอมิสจะต้องรับโทษจากการผิดคำ สาบานต่อหน้าแม่น้ำสติกซ์ จึงวางแผนที่จะล้มเลิกความคิดของน้องสาวฝาแฝด

                อพอลโล่สั่งให้โอไรออนเดินลุยน้ำทะเลไปยังเกาะแห่งหนึ่งกลางทะเล และเมื่อโอไรออนเดินไปถึงยังจุดที่ไกลจนเมื่อมองจากเกาะดีลอสแล้วจะเห็น เพียงศีรษะของโอไรออนที่มองดูเหมือนกับเกาะกลางน้ำ เทพอพอลโล่ก็ชวนเทพีฝาแฝดมาล่าสัตว์แข่งกัน และท้าพนันให้อาร์เทมิสยิงธนูทะลุเกาะกลางทะเลที่อพอลโล่ชี้ให้ดูให้ได้

                  อาร์เทมิสตกหลุมพรางของเทพฝาแฝด เหนี่ยวสายธนูเต็มแรงจนลูกธนูทะลุศีรษะของโอไรออนถึงแก่ความตาย เมื่ออาร์เทมิสทราบว่าตนได้ฆ่าชายที่รักลงด้วยน้ำมือของตนเองแล้ว พระนางก็ได้นำศพของอไรเอินและซิริอุสสุนัขคู่ใจขึ้นไปไว้บนท้องฟ้าในตำแหน่ง ของกลุ่มดาวนายพราน และดาวสุนัขใหญ่ 

เทพแห่งแสงสว่าง “อพอลโล”

  บุตรชายคนโตของมหาเทพซีอุส และนางเลโต เป็นเทพแห่งแสงสว่าง หรือเทพแห่งดวงอาทิตย์ รวมถึงเป็นเทพแห่งสัจจะและการดนตรีด้วย

        อพอลโลมีพี่สาวฝาแฝดชื่อ อาร์เทมีส ซึ่งเป็นเทพีแห่งดวงจันทร์คู่กัน  อพอลโลเป็นเทพที่ชาวกรีกถือว่ามีรูปงามยิ่ง และเป็นนักดนตรีผู้ขับกล่อมเทพทั้งปวงบนเขาโอลิมปัส ด้วยพิณถือของเธอ นอกจากนี้เธอยังมีคันธนูซึ่งยิงได้ไกล จึงได้สมญานามว่า เทพขมังธนู ใช่แต่เท่านั้นเมื่อไร เธอยังเป็นเทพผู้ถ่ายวิชาโรคศิลป์ ให้แก่มนุษย์เป็นปฐม เป็นเทพแห่งแสงสว่างผู้ขจัดความมืดและเป็นเทพแห่ง สัจธรรมผู้ไม่เคยเอ่ยวาจาเท็จอีกด้วย

       ตามเรื่องต่าง ๆ ที่เธอมีบทบาทอยู่ อพอลโลดูจะเป็นเทพใจสูงกว่าองค์อื่น ๆ แต่ถึงกระนั้นก็มีอยู่ 2-3 เรื่อง ที่แสดงให้เห็นความโหดเหี้ยมดุร้ายของเธอ อย่างการที่เทพอพอลโลได้สำแดงวีรกรรมสังหารผลาญชีวิตคนพาลมากมาย เคยฆ่างู ยักษ์ไพธอนจนมีชื่อ เสียงมหาศาลมาแล้ว  แต่มีครั้งหนึ่งที่อพอลโลยังไม่อาจเอาชนะมนุษย์ คนหนึ่งได้จนร้อนถึงให้เทพซูสต้องออกมาประนีประนอม บุรุษเดินดินคนนั้นนามว่า เฮอร์คิวลิส หรือ เฮลาคลิสนั่นเอง เหตุเกิดเพราะเฮอร์คิวลิสไปขอคำพยากรณ์ที่วิหารเดลฟีแล้ว ได้รับคำทำนายไม่ถูกใจ จึงล้มโต๊ะ พิธีใน วิหารแล้วฉวยเอากระถางธูปไป เทพอพอลโลรีบรุดตามไปท้าเล่นมวยปล้ำเพื่อชิงเอากระถางคืน ปล้ำกันอยู่ นานไม่อาจรู้แพ้ชนะ ซูสเห็น ท่าว่าขืนปล่อยไว้นานอพอลโลอาจจะเสียเปรียบพ่ายแพ้แก่มนุษย์เข้าได้ และ อาจเสียหน้าวงศ์เทพแน่ จึงเสด็จลงไปห้ามปรามให้เลิกราต่อกัน ขอให้เฮอร์คิวลิสคืนกระถางธูปแก่อพอลโล แล้วให้ เลิกราเรื่องบาดหมางต่อกัน เรื่องราวก็เลยจบลงด้วยดี

        เทพอพอลโลมีอุปนิสัยไม่ยอมแพ้ใครอยู่ไม่น้อย เห็นได้จากที่ไปแข่งเป่าขลุ่ยกับมาไซยาส์ซึ่งเป็นเทพชั้นรอง แล้วตั้งกรรมการตัดสินว่าผู้ใดเป่าเก่งกว่ากัน พระเจ้าไมดาส องค์ที่จับอะไรก็กลายเป็นทอง เกิดตัดสินเข้าข้างมาไซยาส์ เพียงเท่านี้ อพอลโลก็ไม่ฟังอะไรอีก จึงสาปให้ไมดาสมีหูเป็นลาไปทันที

              ปัจจุบัน อพอลโลเป็นชื่อที่ถูกตั้งตามอยู่บ่อยครั้ง โดยมีความหมายในทางที่เกี่ยวกับแสงสว่างหรือความสำเร็จ เช่น เป็นชื่อปฏิบัติการทางอวกาศของนาซาที่เรียกว่า โครงการอะพอลโล หรือเป็นชื่อสินค้าต่างๆ เช่น ยี่ห้อน้ำมันเครื่อง ยี่ห้อหรือชื่อรุ่นรถยนต์ ชื่อบริษัท เป็นต้น

เทพเจ้าแห่งไวน์ “ไดอะไนซัส”

       ในตำนานเทพเจ้ากรีก “ไดอะไนซัส” เป็นเทพเจ้าแห่งไวน์ ผู้เป็นแรงบันดาลใจของความประเพณีความคลั่งและความปิติอย่างล้นเหลือ และเป็นเทพองค์ล่าสุดในสิบสองเทพโอลิมปัส

เทพไดโอไนซัสเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า แบคคัส เทพแห่งเมรัย และไวน์องุ่น เป็นบุตรของเทพซูสกับนางซิมิลี่ ซึ่งเป็นมนุษย์ ธิดาแห่งกรุงเธป เทพซูส ได้แปลงกายเป็น มนุษย์รูปงามลงมาโลกมนุษย์ เพราะเกรงว่ามเหสี พระนางเฮร่า จะรู้เข้า และกลัวว่านางซิมิลี่จะเกรงกลัวในรัศมีของพระองค์ และในที่สุด ก็ได้นางเป็นชายาอีกองค์ แต่แล้ว พระนางเฮร่า ก็รู้เข้า จึงได้แปลงกายมาเป็นคนรับใช้ของนางซิมิลี่ มาหลอกล่อให้นางอยากเห็นรูปร่างที่แท้จริงของเทพซุส

นางซิมิลี่ จึงได้ให้เทพซุสในรูปมนุษย์ ไปสาบานกับแม่น้ำสติ๊กซ์ ว่าจะให้ของขวัญแก่นาง แล้วนางซิมิลี่ ก็ให้เทพซุสเปลี่ยนร่างที่แท้จริงออกมา พระองค์เกรงว่า ถ้าให้นางเห็นร่างที่แท้จริงของพระองค์ จะทำให้นางซิมิลี่มอดไหม้ เพราะ รัศมีของพระองค์ จึงบอกแก่นางซิมิลี่ว่า จะดูแลลูกในครรภ์ของนาง ส่วนนางก็จะได้รับของขวัญสมใจ แล้วพระองค์ก้ได้ เปลี่ยนร่างเป็นเทพซูส นางซิมิลี่ก็มอดไหม้ไป แต่บุตรของนางไม่เป็นอะไรเพราะ เป็นบุตรแห่งเทพ จากนั้น เทพซูส จึงได้ให้พวกนิมฟ์ล นางไม้ ดูแลเทพไดโอไนซัส พวกนิมฟ์ล ได้สอนให้เทพไดโอไนซัสปลูกพืชต่างๆโดยเฉพาะองุ่น ต่อมาพระองค์ได้ทดลองนำองุ่นไปหมักเอาไว้ และก็ได้ค้นพบ นำองุ่นที่รสชาติดีอย่างประหลาด ที่ยิ่งดื่ม ยิ่งมึนเมา ยิ่งอยากดื่ม ยิ่งสนุกสนาน พระองค์จึงได้เผยแพร่การทำไวน์องุ่นไปทั่วแดน และต่อมา เทพซูส ได้รับพระองค์ไปเป็นเทพโอลิมปัสอีกพระองค์

ไดอะไนเซิสผู้เป็นเทพของการเกษตรกรรม และการละคร นอกจากนั้นก็ยังรู้จักกันในนามว่า “ผู้ปลดปล่อย”  ที่ปลดปล่อยส่วนลึกของตนเองโดยทำให้คลั่ง หรือให้มีความสุขอย่างล้นเหลือ หรือด้วยเหล้าองุ่น หน้าที่ของไดอะไนเซิสคือเป็นผู้สร้างดนตรีออโลส (aulos) และยุติความกังวล นักวิชาการถกกันเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไดอะไนเซิสกับ “คตินิยมเกี่ยวกับวิญญาณ” และความสามารถในการติดต่อระหว่างผู้ยังมีชีวิตอยู่และผู้ที่ตายไปแล้ว

เทพีแห่งปัญญา “อธีน่า”

  เทพีอธีนา  หนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัส เป็นเทพีแห่งปัญญา เนื่องจากเกิดมาจากส่วนหัวของ ซูส ประมุขแห่งเหล่าทวยเทพ

ในขณะที่กำลังประชุมเหล่าเทพที่เทือกเขาโอลิมปัส เมื่อจู่ ๆ ซูสเกิดปวดศีรษะอย่างรุนแรง จึงได้ให้เฮฟเฟสตุส เทพแห่งการตีเหล็กใช้ขวานผ่าศีรษะออก ปรากฏเป็นอธีนาที่สวมชุดเกราะพร้อมหอกกระโดดออกมา เทพีอธีนาเป็นธิดาของเทพีมีธิส ซึ่งถูกซูสกลืนเข้าไปในท้องตั้งแต่ยังมีครรภ์แก่ เนื่องจากคำทำนายที่ว่าบุตรที่เกิดจากนางจะเป็นผู้โค่นบัลลังก์ของซูส แต่แม้ว่าอธีนาจะถือกำเนิดมาพร้อมกับคำทำนายนั้น พระนางก็เป็นหนึ่งในลูกรักของของซูส ว่ากันว่าฮีราอิจฉาอธีนาที่ถือตัวว่าเป็นผู้กำเนิดมาจากซูสโดยตรง
           นอกจากอธีนาจะเป็นเทพีแห่งปัญญาแล้ว ยังเชื่อกันว่าพระนางเป็นเทพีแห่งสงครามด้วย เนื่องจากเทวรูปของพระนางมักปรากฏเป็นรูปผู้หญิงสวมชุดเกราะ ถือโล่ห์และหอกที่มือซ้าย และถือไนกี้ เทพีแห่งชัยชนะที่มือขวา อธีนาเป็นตัวแทนของสงครามที่เอาชนะด้วยกลยุทธหรือความถูกต้อง ซึ่งต่างจากแอรีสที่เป็นเทพสงครามที่ใช้กำลังมากกว่า

      นอกจากนี้ อธีนา ยังเป็นหนึ่งในสามเทพีพรหมจรรย์ด้วย ซึ่งประกอบด้วย พระนาง, อาร์เทมีส เทพีแห่งดวงจันทร์ และเฮสเทีย เทพีแห่งครัวเรือน

เทพีแห่งความรัก “อโฟรไดท์”

   อโฟรไดท์เป็นเทพเจ้ากรีกแห่งความรัก, ความปรารถนา, และความงาม

  สิ่งศักดิ์สิทธิของอโฟรไดท์ได้แก่ต้นเมอร์เติล   นกพิราบ, นกกระจอก และ หงส์ เทพีอโฟรไดท์เทียบได้กับเทพีวีนัส ในตำนานเทพเจ้าโรมัน

อโฟรไดท์ทรงเป็นเทพธิดาแห่งความรักและความงาม ทั้งความรักที่บริสุทธิ์ และความรักที่เต็มไปด้วยตัณหา และความริษยา ทรงครอบครองสายคาดวิเศษที่สามารถมัดใจเทพและชายทุกคนได้ในทันที ทรงเป็นผู้ให้พรเพื่อให้ผู้มีความรักสมหวัง ในขณะเดียวกันก็ทรงสามารถที่จะทำลายความรักของผู้ที่พระนางไม่พอใจได้ใน ทันที

      การกำเนิดของอโฟรไดท์มีอยู่ 2 ความเชื่อ ความเชื่อแรกนั้นเชื่อว่าอโฟรไดท์ถือกำเนิดขึ้นจากฟองน้ำในมหาสมุทร และความชื่อที่สองเชื่อว่าอโฟรไดท์เป็นบุตรของซุสกับนางไดโอนี

     เทพีอโฟรไดท์เป็นหนึ่งในเทพีที่มีชื่อเสียทางด้านชู้สาวมาก พระนางได้รับบัญชาจากซุสให้สมรสกับเทพเฮเฟตุสผู้อัปลักษณ์และพิการ ซึ่งเป็นบุตรชายของซุสกับเฮรา แต่ความสัมพันธ์ระหว่างเทพและเทพีทั้งสองกลับไม่ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น เทพีอะโฟรไดท์ทรงมีความสัมพันธ์กับเทพและชายหนุ่มมากมายที่ไม่ใช่สวามีของตน เอง จนเกิดเรื่องราวนับไม่ถ้วน

เทพแห่งการช่าง “เฮฟเฟสตุส”

 เฮฟเฟสตุส หรือ วัลแคน เทพแห่งไฟ โลหะ และการช่าง เป็นบุตรของเทพซึส กับ ฮีรา  บางตำราว่าเป็นบุตรของฮีราผู้เดียว พระองค์เป็นเทพที่พิการและอัปลักษณ์

มีประวัติกำเนิด เล่าแตกต่างกันเป็น 2 นัย

นัยหนึ่งว่าเป็น เทพบุตรของ เทวีฮีรากับเทพปรินายกซุสโดยตรง แต่อีกนัยหนึ่งว่าเฮฟเฟสตุสถือกำเนิดแต่เทวีแม่ฮีรา ทำนองเทวีเอเธน่า เกิดกับซุสฉะนั้น คือผุดขึ้นจากเศียรของเทวีโดยลำพังตนเอง ทั้งนี้เนื่องด้วยเจตจำนงของเทวีฮีรา ที่ต้องการจะแก้ลำซุสในการกำเนิดของเทวีเอเธน่า ให้เทพทั้งปวงเห็นว่าเมื่อซุสทำให้เทวีเอเธน่าเกิดเองได้ เทวีก็สามารถทำให้เฮฟเฟสตุสเกิดเองได้เช่นกัน แต่ถึงกำเนิดของเทพเฮฟเฟสตุสจะเป็นประการใด ก็ต้องนับว่า เฮฟเฟสตุส เป็นเทพบุตรของซุสด้วยเช่นกัน หากมีข้อควรกล่าวก็คือว่า เฮฟเฟสตุสติดแม่มากกว่าติดพ่อ และเข้ากับแม่ทุกคราวที่พ่อแม่ทะเลาะกัน ในคราวหนึ่งซุสประสงค์จะลงโทษเทวีฮีราให้เข็ดหลาบ เอาโซ่ทองล่ามเทวีแขวนไว้กับกิ่งฟ้าห้อยโตงเตงอยู่ ดังนั้นเฮฟเฟสตุสก็เข้าช่วยเทวี พยายามแก้ไขโซ่จะให้เทวีเป็นอิสระ ซุสบันดาลโทสะจึงจับเฮฟเฟสตุส ขว้างลงมาจากสวรรคโลก

            เนื่องด้วยเหตุดังกล่าว พระองค์จึงถูกพระบิดา และมารดาทอดทิ้งเฮฟเฟสตุสใช้เวลาช่วง 10 ปีแรกอยู่ในทะเล และได้สร้างโรงหล่อไว้ใต้ภูเขา

เทพแห่งการสื่อสาร “เฮอร์มีส”

ทพเฮอร์มีส หรือ เมอร์คิวรี่ ตามชื่อที่ชาวโรมันเรียก เป็นเทพบุตรของซูสเทพบดีกับนางมยา เป็นเทพที่มีผู้รู้จักมาก เพราะมีของวิเศษ คือ เกือกมีปีก มาแสดงเป็นเครื่องหมายถึงความเร็ว นอกจากเกือก หมวกและไม้ถืออันศักดิ์สิทธิ์ของเธอก็มีปีกเหมือนกัน เธอไปได้เร็วยิ่งนัก ถึงแด่ว่ากันว่า “ไปเร็วเพียงความคิด” ทีเดียว

หมวก และเกือกมีปีกของเฮอร์มีสนั้นเรียกว่า เพตตะซัส และ ทะเลเรีย เป็น ของที่ได้รับประทานจากซูสเทพบิดา ซึ่งโปรดให้เธอเป็นเทพพนักงานสื่อสารประจำพระองค์ ส่วนไม้ถือศักดิ์สิทธิ์เรียกว่า กะดูเซียส เดิมเป็นของเทพอพอลโล แต่เทพอพอลโลของแลกกับพิณของเฮอร์มีส  จึงเอาไม้กะดูเซียส แลก ไม้ถือกะดูเซียสจึงเป็นของเฮอร์มีสด้วยเหตุฉะนี้ และถือ กันว่าเป็นสัญลักษณ์ของเฮอร์มีสแต่ครั้งนั้น

          ไม้ กะดูเซียสนี้แต่เดิมเป็นไม้ถือมีปีกลุ่น ๆ ต่อมาเฮอร์มีสถือไปพบงู 2 ตัวกำลังต่อสู้กัน เธอเอาไม้ทิ่มเข้าในระหว่างกลางเพื่อห้าม ความวิวาท งูก็เลื้อยขึ้นมาพันอยู่กับไม้ โดยหันหัวเข้าหากัน ตั้งแต่นั้นมางูนี้ก็พันอยู่กับไม้ถือกะดูเซียสตลอดมา และไม้ถือกะดูเซียสก็ กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกลางด้วย ภายหลังได้ใช้เป็นสัญลักษณ์ของการแพทย์มาจนบัดนี้

          เฮอร์ มีสไม่แต่จะเป็นเทพพนักงานสื่อสารของซูสเท่านั้น หากยังเป็นเทพครองการเดินทาง การพาณิชย์ และตลาด เป็นที่บูชาของพวกหัวขโมย และมีหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์คอยนำวิญญาณคนตายไปสู่ยมโลกด้วยจนได้รับนามกร
          สิ่ง ที่น่าแปลกประการหนึ่งในตัวของเฮอร์มีสก็คือ แม้ว่าเธอจะเป็นโอรสของซูสเทพบดีกับนาง เมยา ซึ่ง เป็นอนุ แต่ทว่าทรงเป็นโอรสองค์เดียวของซูสที่ราชินีขี้หึงเทวีฮีร่าไม่เกลียดชัง กลับเรียกหาให้เฮอร์มีสอยู่ใกล้ ๆ ด้วยเสีย อีก 

เทพเจ้าแห่งสงคราม “แอรีส”

 แอรีสเป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม อาวุธ และชุดเกราะ เช่นเดียวกับ อธีน่า แต่ทว่าอธีน่าจะได้รับการยกย่องและบูชามากกว่า เนื่องจากอธีน่าเป็นเทพีที่ใช้สติปัญญาวางแผนในการสู้รบมากกว่า ซึ่งได้รับการบูชาในฐานะเทพีแห่งสติปัญญาด้วย ผิดกับแอรีสซึ่งมักจะใช้ความดุดันและโหดร้ายในการสงครามมากกว่า ซึ่งโฮเมอร์ กวีเอกคนสำคัญของกรีกโบราณ ยังเคยเขียนถึงพระองค์ว่า เป็นเทพที่โหดร้ายและหยาบช้า

    แอรีสเป็นบุตรของซีอุสมหาเทพและพระนางเฮรา มเหสีของซีอุส แอรีสเป็นเทพที่ชาวกรีกไม่นับถือบูชา เพราะถือว่าเป็นเทพที่โหดร้ายและมีเรื่องราวที่น่าอับอายเกี่ยวกับพระองค์เยอะ และถึงแม้จะเป็นเทพแห่งสงคราม แอรีสก็รบแพ้ในการสงครามหลายต่อหลายครั้ง ทั้งแก่มนุษย์กึ่งเทพเองอย่าง เฮราคลีสและกับอธีน่า เทพีแห่งสงคราม พี่น้องของพระองค์เอง

     ครั้งหนึ่งเทพแอรีสทะเลาะกับอเธนา เทพแอรีสบันดาลโทสะขว้างจักรเข้าใส่เทพีอเธนา เทพีอเธนาหลบได้และยกหินที่วางอยู่ใกล้ๆ ทุ่มกลับไป หินกระแทกแอรีสจนทรุดลงไปกองกับพื้น ถือเป็นการพ่ายแพ้แก่พี่น้องสายเลือดตนเองที่เป็นผู้หญิงอีกด้วย อาจกล่าวได้ว่า กำลังพ่ายแพ้ให้แก่สติปัญญา

        แอรีส เมื่อเสด็จไปไหน จะใช้รถศึกเทียมม้าฝีเท้าจัดมากมาย แสงเกราะและแสงศาตราวุธส่องแสงเจิดจ้าบาดตาผู้พบเห็น มีบริวารที่ติดสอยห้อยตามอยู่ 2 คนคือ ดีมอส กับ โฟบอส

เทพีแห่งหญิงสาว “ฮีรา”

เทพีฮีร่าเป็นเทพีแห่งหญิงสาวและชีวิตสมรส เป็นผู้ปกป้องสตรีที่แต่งงานแล้ว พระนางทรงประทับบนพระบัลลังก์ทองคำเคียงข้างซูสบนภูเขาโอลิมปัส 

ฮีราเป็นบุตรองค์ที่ 3 ของโครนัสและรีอา   ฮีราเป็นมเหสีพี่สาวของซูส  บางตำนานได้กล่าวว่าเมื่อเหล่าเทพโอลิมเปียนได้เอาชนะโครนัสและย้ายขึ้น มาสร้างวิมานบนเทือกเขาโอลิมปัสแล้ว ซูสก็ได้เสาะหาหญิงงามผู้คู่ควรกับตำแหน่งราชินีแห่งเทพทั้งมวล และในที่สุดพระองค์ก็ตัดสินใจเลือกเทพีฮีรา พระเชษฐ์ภคินีของตนเอง ฮีราไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจนี้เพราะขยาดในความเจ้าชู้ของซูสนั่นเอง จึงขังตนเองอยู่ในวิหารเพื่อหนีจากการสมรสกับมหาเทพแห่งโอลิมปัส ซูสจึงปลอมตัวเป็นนกเขาบาดเจ็บบินเข้าไปซบอุระของฮีรา และแน่นอนว่าเทพีผู้อ่อนหวานจะต้องนำนกตัวนั้นเข้าไปพยาบาลในวิหารแน่นอน เมื่อทั้งคู่เข้าไปในวิหารของฮีราแล้ว ซูสก็กลับร่างเป็นมหาเทพและรวบรัดฮีราเป็นราชินีของพระองค์

   เทพีฮีราเป็นที่รู้จักกันดีในด้านของอารมณ์ดุร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชายาองค์อื่นๆของซูส และบุตรที่เกิดจากชายาเหล่านั้น ไม่ว่าพวกนางจะเป็นเทพีหรือเป็นมนุษย์ก็ตาม          

    ฮีรามีบุตรธิดา 5 องค์ ดังนี้ อาเรส เทพแห่งสงคราม,ฮีบี เทพีแห่งวัยเยาว์, ไอไลไธยา เทพีแห่งการคลอดบุตร, เอริส เทพีแห่งความแตกแยก, เฮเฟตุส เทพแห่งอาวุธ 

เทพีแห่งการเก็บเกี่ยว “ดีมิเตอร์”

    เธอเป็นเทพแห่งการเก็บเกี่ยว และความอุดมสมบูรณ์ สัญลักษณ์ของนางคือ คทา คบเพลิง และเมล็ดพืชพันธุ์

เทพีดิมิเทอร์มีธิดาชื่อว่า เพอร์ซีเฟอร์นี ที่เป็นเหตุทำให้เกิดฤดูกาลในการเก็บเกี่ยวขึ้นมา เนื่องจากว่า วันหนึ่งขณะที่นางเพอร์ซีเฟอร์นี กำลังเก็บดอกไม้พลางร้องเพลงอย่างสบายอารมณ์อยู่นั้น เฮเดส เทพแห่งแดนบาดาลได้ยินเสียงของนางที่ลอดผ่านร่องดินที่แตกแยกจึงขึ้นมาและ ลักพาตัวนางเพอร์ซีเฟอร์นี ลงไปยังแดนบาดาลและทำให้นางเป็นภรรยาซะ เทพีดิมิเทอร์เสียใจมากเดินไปโดยไม่มีจุดหมายแน่นอนเพื่อค้นหาลูกสาว จนพืชพันธุ์ต่าง ๆ เริ่มเหี่ยวเฉาและเข้าสู่ฤดูหนาวตลอดกาล เฮเดส ทนต่อการอ้อนวอน ออดอ้อนของนางเพอร์ซีเฟอร์นี ไม่ไหวในการที่นางจะขอกลับไปพบแม่ของนาง เพื่อจะได้ช่วยแม่ของเธอในการทำหน้าที่ในการเก็บเกี่ยวและมอบความอุดม สมบูรณ์ให้กับโลก เฮเดส จึงอนุญาตให้เธอขึ้นมาได้เฉพาะช่วงเวลาที่เราเรียกกันว่าฤดูร้อน และฤดูใบไม้ผลิ ซึ่ง 2 ฤดูนี้จะเห็นว่ามีพืชพันธุ์ที่งอกงาม รอการเก็บเกี่ยวอยู่มากมาย แต่นางเพอร์ซีเฟอร์นีจะต้องกลับลงแดนบาดาลในฤดูหนาว ที่เราจะเห็นว่าพืชพันธุ์จะแห้งเฉา ถูกเก็บเกี่ยว และพื้นดินขาดความชุ่มชื้น